วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

smartbrainrangsit



Our Programme
วัตถุประสงค์
  1. พื่อเผยแพร่หลักสูตรจินตคณิตของสมาร์ท เบรน ให้เข้าถึงสถานศึกษาทุกทั่วประเทศ
  2. เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองและนักเรียน ที่ต้องการเรียนหลักสูตรจินตคณิตที่ถูกต้องและมีแบบ ฉบับมาตรฐานสากล
  3. เพื่อสร้างพลังสมอง พลังแห่งความจำ (Memory Power) ให้แก่เด็กและเยาวชนไทยช่วยพัฒนาเยาวชนในด้านIQ,EQและMQ เพื่อเป็นการสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ
  4. เพื่อลดช่องว่างระหว่างนักเรียนในเมืองกับต่างพื้นที่ ให้มีโอกาสได้เรียนเหมือนกัน เท่าเทียมกัน
  5. เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในประเทศและต่างประเทศ พบปะแข่งขัน และเดินทางไปมาหาสู่กันได้ในอนาคต เพราะเรามีเครือข่ายทั่วประเทศและทั่วโลก
  6. เพื่อพัฒนาเยาวชนให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และห่างไกลจากยาเสพติด
หลักการเรียนการสอน - วิชาที่สอน
สอนวิชาเกี่ยวกับการพัฒนาสมองให้มีความจำเป็นเลิศ และรู้จักใช้จินตนาการ ขึ้นในสมอง โดยใช้สมาธิอย่างต่อเนื่องเป็นหลัก คือ ฟังและคิด ซึ่งสามารถฝึกฝนให้นักเรียนมีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความคิดกว้างไกลเกิดความคิดสร้างสรรค์ อดทน และขยันหมั่นเพียร โดยจะใช้ตัวเลขเป็นสื่อนำในการสอน ซึ่งเด็กๆ สามารถนำวิชาที่เรียนไปประยุกต์ใช้กับการเรียนของเด็กๆ ในวิชาบังคับอื่นใดก็ได้ อาทิเช่น เพิ่มความจำในการอ่านตำรา เพิ่มความเข้าใจและการฟังอย่างมีเหตุผลในห้องเรียนได้ดีขึ้น คิดได้เร็วขึ้นมีความคิดสร้างสรรค์ต่อวิชาที่ เรียนละมีความเชื่อมั่นในตนเองว่าสามารถทำได้ หรือเรียนให้เก่งได้อย่างแน่นอนโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ระดับที่ 1–2
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมองทั้งสองข้าง โดยรู้จักการใช้นิ้วมือคำนวณตัวเลข ตั้งแต่ 1 – 99 ได้ และสอนให้รู้จักการคำนวณตัวเลขโดยใช้ลูกคิดในการบวกและลบตัวเลขและเรียนรู้เทคนิคการคำนวณโดยใช้จินตภาพลูกคิด
ระดับที่ 3–4
สอนให้รู้จักการคำนวณตัวเลขโดยใช้ลูกคิดในการคูณและหารเบื้องต้น
ระดับที่ 5–7
เรียนรู้เทคนิคการคำนวณโดยจินตภาพลูกคิด โดยรู้จักการสร้างภาพขึ้นในสมองสอนวิธีการใช้จิตใต้ สำนึกคำนวณตัวเลขได้อย่างถูกต้องแม่นยำ โดยในหลักสูตรนี้เด็กจะได้เรียนการคำนวณเลขทศนิยมด้วย
ระดับที่ 8–9
จากการฝึกฝนและอบรมในระดับนี้ เด็กจะมีสมาธิต่อเนื่องที่มีประสิทธิภาพมากซึ่งเด็กสามารถคำนวณ ตัวเลข 5 - 6 หลัก 10 บรรทัด ในการบวก - ลบ ได้อย่างรวดเร็วด้วยเวลาประมาณ 30 วินาที โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆทั้งสิ้น
ระดับที่ 10
เด็กในระดับนี้จะเป็นเด็กที่มีประสิทธิภาพทั้งร่างกายและจิตใจ เขาจะมีความ พร้อมในทุกๆด้านทุกสาขา วิชาดังเช่นที่ประเทศอื่นๆ ประสบความสำเร็วแล้วด้วยเยาวชนรุ่นใหม่ อาทิเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ฮ่องกง สิงค์โปร มาเลเซีย ฯลฯ
ความสามารถทางสติปัญญาของเด็ก จะต้องได้รับการพัฒนาก่อนอายุ 12 ปีการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเจริญเติบโต
ทางสติปัญญาในวัยเด็กมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก่อนอายุ 12 ปี ระดับการพัฒนาทางสติปัญญาของเด็กที่มี อายุระหว่างนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่ออนาคตของเด็ก เด็กที่ได้รับการเรียนรู้ทางสติปัญญาในอายุระหว่างนี้ จะยัง คงรักษาความเฉลียวฉลาดไว้ตราบจนอายุ 70 ปี หากเด็กคนใดที่ขาดการเรียนรู้ที่จะพัฒนา ทางสติปัญญาแล้ว ความสามารถทางพลังสมองของเขาจะลดลงเป็นอย่างมาก เมื่อเริ่มเข้าสู่อายุ 20 ปี
วิจัยโดย PROF.H.J. EYSENOK มหาวิทยาลัย LONDON
DR. ROBERT B. SLONE/ มหาวิทยาลัย HAWAII
ได้วิจัยแล้วพบว่า ระบบการศึกษาเกือบทั้งหมด เป็นระบบที่ขาดการพัฒนาสมอง โดยเฉพาะการพัฒนาสมองฝั่งซ้าย
เรียน สมาร์ท เบรน แล้วได้อะไร?
  1. ประกาศนียบัตร สามารถนำไปเรียนต่อได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศในเครือข่าย
  2. เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันตลอดทั้งปี
  3. มาตรฐานหลักสูตรได้รับการยอมรับจากกระทรวงศึกษาธิการและได้รับการยอมรับจาก ต่างประเทศ 9 ประเทศที่นำหลักสูตรไปใช้
  4. เข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันระหว่างประเทศ (นานาชาติ)
    - Malaysia Open
    - Indonesia Open
    - China Open
    และกิจกรรมที่ประเทศต่างๆ เช่น India, U.S.A., Kuwait จัดการแข่งขัน
หลักสูตรสมาร์ทเบรน
ระดับ
บวก - ลบ
คูณ
หาร
ระดับ 1
Basic
การคำนวณด้วยนิ้วมือ
วิธีการใช้นิ้วในการคำนวณ

แนะนำพื้นฐานลูกคิด
1-หลัก 3-6 แถว
1,2-หลัก 3-4 แถว
การคิดเลขตามคำบอก
(DICTATION) เบื้องต้น
-
-

ระดับ 2
Elementary

1-หลัก 3-7 แถว
1,2-หลัก 3-5 แถว

1-หลัก 5 แถว
2-หลัก 3 แถว
-
-
ระดับ 3
Intermediate "A"

1-หลัก 5 แถว
2-หลัก 3 แถว
 
2-หลัก ด้วย 1-หลัก
แนะนำพื้นฐานการหาร
1-หลัก ด้วย 1-หลัก
2-หลัก ด้วย 1-หลัก
ระดับ 4
Intermediate "B"

2-หลัก 4-5 แถว

2-หลัก ด้วย 1-หลัก
 
2-หลัก ด้วย 1-หลัก
3-หลัก ด้วย 1-หลัก
ระดับ 5
High "A"

2-หลัก 6-7 แถว

2-หลัก ด้วย 1-หลัก

2-หลัก ด้วย 1-หลัก
3-หลัก ด้วย 1-หลัก
ระดับ 6
High "B"

2-หลัก 8-9 แถว

2-หลัก ด้วย 1-หลัก
3-หลัก ด้วย 1-หลัก

2-หลัก ด้วย 1-หลัก
3-หลัก ด้วย 1-หลัก
4-หลัก ด้วย 1-หลัก
ระดับ 7
High "C" 

2-หลัก 10 แถว
2,3-หลัก 10 แถว
(มีจุดทศนิยมด้วย)

3-หลัก ด้วย 1-หลัก
2-หลัก ด้วย 2-หลัก

4-หลัก ด้วย 1-หลัก
ระดับ 8
Advance "A"

2,3-หลัก 10 แถว
(มีจุดทศนิยมด้วย)
3-หลัก 10 แถว
(มีจุดทศนิยมด้วย)

2-หลัก ด้วย 2-หลัก

4-หลัก ด้วย 2-หลัก
5-หลัก ด้วย 2-หลัก
ระดับ 9
Advance "B"

3,4-หลัก 10 แถว
(มีจุดทศนิยมด้วย)
4-หลัก 10 แถว
(มีจุดทศนิยมด้วย)

3-หลัก ด้วย 2-หลัก
3-หลัก ด้วย 3-หลัก

4-หลัก ด้วย 2-หลัก
5-หลัก ด้วย 2-หลัก
4-หลัก ด้วย 3-หลัก
5-หลัก ด้วย 3-หลัก
ระดับ 10
Grand Level

4,5-หลัก 10 แถว
(มีจุดทศนิยมด้วย)

3-หลัก ด้วย 2-หลัก
3-หลัก ด้วย 3-หลัก
4-หลัก ด้วย 2-หลัก

5-หลัก ด้วย 2-หลัก
5-หลัก ด้วย 3-หลัก
6-หลัก ด้วย 2-หลัก
6-หลัก ด้วย 3-หลัก
6-หลัก ด้วย 4-หลัก

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

"รูบิค" ของเล่นลับสมอง

"รูบิค" ของเล่นลับสมอง

             ลูกบาศก์ของรูบิค หรือที่เรียกกันว่า ลูกรูบิค เป็น ของเล่นลับสมอง ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ.1974 โดย เออร์โน รูบิค (Ernö Rubik) ซึ่งเป็นประติมากร และศาสตราจารย์ในสาขาสถาปนิก ชาวฮังการี โดยทั่วไปตัวลูกบาศก์นั้น ทำจากพลาสติก แบ่งเป็นชิ้นย่อยๆ 26 ชิ้น ประกอบกันเป็นรูปลูกบาศก์ ที่สามารถบิดหมุนไปรอบๆ ได้ ส่วนที่มองเห็นได้ของแต่ละด้าน จะประกอบด้วย 9 ส่วนย่อย ซึ่งมีสีทั้งหมด 6 สี ส่วนประกอบที่หมุนไปมาได้นี้ ทำให้การจัดเรียงสีของส่วนต่างๆ สลับกันได้หลายรูปแบบ จุดประสงค์ของเกม คือ การจัดเรียงให้แถบสีทั้ง 9 ที่อยู่ในด้านเดียวกันของลูกบาศก์ ซึ่งมีทั้งหมด 6 ด้านนั้น มีสีเดียวกัน


             ลูกบาศก์ของรูบิค ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 และได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสมัยนิยมของยุคนั้น ลูกบาศก์ของรูบิคนั้น ถือได้ว่าเป็นเป็นของเล่นที่ขายได้มากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนยอดขายรวมทั้งของแท้และเลียนแบบ มากกว่า 300,000,000 ชิ้นทั่วโลก
ประวัติ             ลูกบาศก์ของรูบิค ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ.1974 โดย เออร์โน รูบิค ประติมากร และศาสตราจารย์สถาปนิก ชาวฮังการี ผู้ซึ่งมีความสนใจในเรขาคณิต และรูปทรงสามมิติ เออร์โน ได้จดสิทธิบัตร HU170062 สิ่งประดิษฐ์ ในชื่อ "ลูกบาศก์มหัศจรรย์" (Magic Cube) ในปี ค.ศ.1975 ที่ประเทศฮังการี แต่ไม่ได้ทำการจดสิทธิบัตรนานาชาติ ได้มีการผลิดชุดแรกเพื่อสำรวจตลาด ในปลายปี ค.ศ.1977 โดยทำการจำหน่ายในร้านของเล่นในกรุงบูดาเปสต์

             หลังจากนั้น ลูกบาศก์นี้ก็เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งประเทศฮังการี โดยการบอกเล่าปากต่อปาก วงการศึกษาในกลุ่มประเทศตะวันตก ก็เริ่มให้ความสนใจในลูกบาศก์นี้ ในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 1979 บริษัท ไอดีลทอยส์ (Ideal Toys) ได้ทำข้อตกลงเพื่อทำการจำหน่ายทั่วโลก และได้มีการเปิดตัวของลูกบาศก์นี้ในระดับนานาชาติ ที่งานแสดงของเล่นที่กรุงลอนดอน นครนิวยอร์ก เมืองนูร์นแบร์ก และ กรุงปารีส ในช่วงต้นปี ค.ศ.1980 บริษัท ไอดีลทอยส์ ได้เปลี่ยนชื่อของเล่นนี้เป็น "ลูกบาศก์ของรูบิค" (Rubik's Cube) และ ได้มีการส่งออกลูกบาศก์นี้ จากประเทศฮังการีชุดแรกเพื่อการจำหน่าย ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.1980

             ชื่อ "ลูกบาศก์ของรูบิค" เป็นเครื่องหมายการค้า ของบริษัท "Seven Towns Limited" ดังนั้น บริษัทไอดีลทอยส์ จึงลังเลที่จะผลิตของเล่นนี้ในขณะนั้น จึงปรากฏของลอกเลียนแบบออกจำหน่าย ในปี ค.ศ.1984 บริษัท ไอดีลทอยส์ ได้แพ้คดีการล่วงละเมิดสิทธิบัตรหมายเลข US3655201 ซึ่งฟ้องร้องโดย แลร์รี นิโคลส์ Larry Nichols ชาวญี่ปุ่นชื่อ อิชิกิ เทรุโตชิ (Terutoshi Ishigi) ได้ทำการจดสิทธิบัตรของเล่นที่มีลักษณะเกือบจะเหมือนกันกับลูกบาศก์ของรูบิค หมายเลข JP55‒8192 ที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงเวลาระหว่างที่สิทธิบัตรที่รูบิคขอนั้น กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ นายอิชิกิ จึงได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นการค้นพบซ้ำกัน
หลักการทำงาน
             ลูกบาศก์ของรูบิค มีขนาดมาตรฐานโดยประมาณ 2 1/8 นิ้ว (5.4 ซ.ม.) กว้าง ยาว และสูง ลูกบาศก์ประกอบด้วย ลูกบาศก์ขนาดย่อม 26 ชิ้น ชิ้นกลางหน้าของแต่ละด้าน จะเป็นชิ้นที่มีสีหน้าเดียว และเชื่อมต่อกับกลไกการหมุนที่แกนกลาง ซึ่งชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนกลางนี้ จะเป็นโครงสร้างที่ขัดส่วนที่เหลือไว้ด้วยกัน และหมุนไปมาได้ ดังนั้น ทั้งหมดจะมี 27 ชิ้นส่วน แกนกลางสำหรับหมุน 1 ชิ้น ชิ้นกลางหน้า 6 ชิ้น และ ชิ้นอื่นๆ อีก 20 ชิ้น ซึ่งสามารถประกอบเข้ากับชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนหมุนได้พอดี โดยจะมีส่วนที่ออกแบบให้ยึดขัดกันไม่ให้หลุดออกจากกัน แต่หมุนไปมาได้ การแยกชิ้นส่วนของลูกบาศก์ก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแต่งัดชิ้นที่เป็นมุมให้หลุดออกมาส่วนที่เหลือก็จะหลุดออกจากกันเอง การแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิคโดยวิธีการแยกส่วนประกอบเป็นวิธีที่ง่าย แต่ขาดความท้าทาย

             นอกเหนือจากชิ้นกลางหน้าแล้ว จะมีลูกบาศก์ขนาดย่อมอีก 20 ชิ้น มี 12 ชิ้นเป็นชิ้นขอบ ซึ่งมีสี 2 ด้าน และ 8 ชิ้นเป็นชิ้นมุม ซึ่งมีสี 3 ด้าน
การเรียงสลับเปลี่ยน             ลูกบาศก์ของรูบิค มีจำนวนรูปแบบการเรียงสลับเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด (8! × 38 - 1) × (12! × 212 - 1)/2 = 43,252,003,274,489,856,000 รูปแบบ (~4.3 × 1019) ประมาณ 43 ล้าน ล้าน ล้าน (quintillion) รูปแบบ ถึงแม้จะมีรูปแบบการจัดเรียงเป็นจำนวนมาก แต่ทุกรูปแบบสามารถแก้ได้ภายในการบิด 29 ครั้ง หรือน้อยกว่าลูกบิด


การแข่งขัน             มีการจัดการแข่งขันปั่นลูกบาศก์ (speedcubing) เพื่อหาผู้ที่สามารถแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิคได้เร็วที่สุด การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่ กรุงบูดาเปสต์ ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ.1982 ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนั้น คือ มิน ไท (Minh Thai) นักศึกษาชาวเวียดนามจาก นครลอสแอนเจลิส โดยใช้เวลา 22.95 วินาที สถิติโลกอย่างเป็นทางการที่ยอมรับโดย สหพันธ์ลูกบาศก์โลก (World Cube Association) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมการจัดการแข่งขัน และสถิติในปัจจุบัน คือ 14.52 วินาที (โดยการเฉลี่ยจากการแก้ปัญหาลูกบาศก์ 5 ลูก) ของ "แมกกี" มากิซูมิ โชทาโร่ (Shotaro "Macky" Makisumi) นักศึกษาโรงเรียนมัธยม ชาวญี่ปุ่น ซึ่งอาศัยในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย จากการแข่งขันที่ เมืองพาซาดีนา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ.2004 ในขณะนั้น มากิซูมิ ซึ่งมีอายุ 14 ปี เป็นนักเรียนมัธยม เกรด 8 ได้เข้าร่วมการแข่งขันฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ.2004 จัดขึ้นที่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (Caltech) นอกจากนี้แล้ว เขายังเป็นผู้ทำสถิติเร็วที่สุดในการแก้ลูกบาศก์ลูกเดียวโดยใช้ 12.11 วินาที

             นอกจากนี้ ยังมีสถิติอื่นที่ไม่เป็นทางการ ที่ใช้เวลาน้อยกว่านี้ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการจัดการแข่งขัน และจับเวลาที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้น มีเพียงสถิติที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ลูกบาศก์โลกเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป

             ในปี ค.ศ.2004 สหพันธ์ลูกบาศก์โลก ได้จัดทำมาตรฐานใหม่ โดยใช้อุปกรณ์จับเวลาที่เรียกว่า นาฬิกาจับเวลาสแตคแมท (Stackmat timer)

             ค.ศ.2007 คาวาซากิเฮฟวี่อินดรัสทรีส์ (Kawasaki Heavy Industries) ผู้ผลิตเครื่องจักรของญี่ปุ่น โชว์ตัวหุ่นยนต์ชื่อ "Cube - kun" ที่มีความสามารถการเล่นรูบิคได้อย่างรวดเร็ว


ขอขอบคุณข้อมูลจากMy firstbrain